ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

16 มิถุนายน 2557
 ประเภท : ข่าวภาษี
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

          พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.๒๔๗๕

          โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนต์ โรงพยาบาล โรงเรือน แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สิ่งปลูกสร้าง เช่น ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน คานเรือ ฯลฯ

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ

          ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ

ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น

          ๑. พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน

          ๒. ทรัพย์สินของรัฐบาล ซึ่งใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง

          ๓. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช้เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้ในการรักษาพยาบาล และในการศึกษา

          ๔. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์

          ๕. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี

          ๖. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิให้เช่าเป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอันเพื่อหารายได้

          ๗. โรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

          เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจ ยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.๒) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี  โดยเจ้าหน้าที่จะออกแบบประเมิน (ภ.ร.ด.๘) ให้ผู้รับการประเมิน ต้องชำระภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับการประเมิน

อัตราโทษและค่าปรับ

  • ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท
  • ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับภาษีย้อนหลังได้ ๕ ปี

อัตราเงินเพิ่ม

  • ไม่เกิน ๑ เดือน นับแต่วันพ้นกำหนด เสียเพิ่ม ๒.๕ %
  • เกิน ๑ เดือน แต่ไม่เกิน ๒ เดือน เสีย ๕%
  • เกิน ๒ เดือน แต่ไม่เกิน ๓ เดือน เสีย ๗.๕%
  • เกิน ๓ เดือน แต่ไม่เกิน ๔ เดือน เสีย ๑๐%
  • ไม่ชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มเกิน ๔ เดือนขึ้นไป ออกคำสั่งเป็นหนังสือยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษี

 

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!